นายอุเทน  ศรีนอก
นายอุเทน ศรีนอก
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสมาใหญ่
ข้อมูล อบต.
บุคลากร
ข้อมูล การดำเนินงาน
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
online ขณะนี้
2   คน
สถิติวันนี้
205   คน
สถิติทั้งหมด
207065   คน
เริ่มนับวันที่ 29 พฤษภาคม 2555

สภาพทางสังคม 

6.  ระบบเศรษฐกิจ   

  1.   การเกษตร

          ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลเสมาใหญ่   ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก   ร้อยละ   92.75   เป็นพื้นที่ทางการเกษตร   หรือประมาณ  16,231   ไร่ 

 

  1.   การประมง

 ไม่มีการทำประมงในพื้นที่ตำบลเสมาใหญ่ 

  1.   การปศุสัตว์ 

พื้นที่ตำบลเสมาใหญ่ มีการทำการปศุสัตว์  ได้แก่  การเลี้ยงหมู  การเลี้ยงวัว  การเลี้ยงไก่

พื้นบ้าน  ฯลฯ   ซึ่งเป็นการเลี้ยงในปริมาณน้อย  เป็นการเลี้ยงแบบครัวเรือน

  1.   การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

กลุ่มอาชีพ

  1. กลุ่มทอผ้าไหม  บ้านโนนติ้ว 
  2. กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม  บ้านโนนติ้ว
  3. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า  บ้านไร่อ้อย
  4. กลุ่มอาชีพทำผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์  บ้านนา 
  5. กลุ่มเลี้ยงโค  บ้านหนองแจ้งน้อย
  6. กลุ่มเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง  บ้านหนองแจ้งน้อย

หน่วยธุรกิจ

               1. ปั๊มน้ำมันและก๊าซ                2        แห่ง

          2. โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก   4        แห่ง

               3. โรงสี                              29แห่ง

               4. ร้านค้า                             54      แห่ง

                             5. ร้านซ่อมรถ                       3         แห่ง

                             6. ร้านขนมจีน                      1         แห่ง   

                             7. เสาสัญญาณโทรศัพท์            2         แห่ง

                             8.  โรงงานผลิตน้ำดื่ม               1        แห่ง

                             9. ร้านทำเหล็ก                     1        แห่ง

 

  1. แรงงาน

              ในด้านแรงงานของภาคเกษตรกรรมจะใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือน  โดยมีการจ้างงาน

ในช่วงดำนาและเก็บเกี่ยวผลผลิต  ส่วนนอกภาคเกษตรกรรมพบว่าประชากรจะรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม  ในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา    และมีบางส่วนเดินทางไปทำงานในต่างจังหวัดเช่น สมุทรปราการ  ชลบุรี  ปทุมธานี  หรือ กรุงเทพ ฯ  มีบางส่วนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ  จึงมีรายได้ที่ไม่แน่นอน

 

 

 

 

 

7.  ศาสนา  ประเพณี   วัฒนธรรม

            7.1   การนับถือศาสนา

ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลเสมาใหญ่   นับถือศาสนาพุทธ  

 

  1. ประเพณีและงานประจำปี  ประเพณีที่สำคัญของตำบลเสมาใหญ่   มีดังนี้

(1) ประเพณีวันขึ้นปีใหม่                     ประมาณเดือน    มกราคม

 (2) ประเพณีแห่หลวงปู่เสี่ยง                 ประมาณเดือน   เมษายน

 (3) ประเพณีวันสงกรานต์                   ประมาณเดือน    เมษายน

 (4) ประเพณีวันสารทไทย                   ประมาณเดือน    ตุลาคม

 (5) ประเพณีวันเข้าพรรษา  ออกพรรษา    ประมาณเดือน   กรกฎาคม  ตุลาคม 

 (6) ประเพณีบุญตักบาตรเทโว               ประมาณเดือน    ตุลาคม

 (7) ประเพณีลอยกระทง                     ประมาณเดือน    ตุลาคม  พฤศจิกายน

 (8) ประเพณีบุญเทศมหาชาติ                ประมาณเดือน    มีนาคม

 (9) ประเพณีบุญกลางบ้าน                  ประมาณเดือน    พฤษภาคม มิถุนายน

 

 

  1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภาษาถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประชาชนในเขตตำบลเสมาใหญ่ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่ 

วิธีการทำเครื่องจักสารใช้สำหรับในครัวเรือน   วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม   วิธีการทอเสื่อจากต้นกก  และวิธีการทำเครื่องจับปลา 

                   ภาษาถิ่น  ส่วนมากร้อยละ  ๙9 %  พูดภาษาอิสาน  

 

  1. สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

ประชาชนในเขตตำบลเสมาใหญ่   ได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้

จำหน่ายบ้าง ได้แก่  เสื่อกก  ผ้าไหม   เครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่  ผลิตภัณฑ์พรมเช็ดเท้า     

 

8.   ทรัพยากรธรรมชาติ

8. น้ำ  ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค  และเพื่อการเกษตร   เป็นน้ำผิวดินที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ  และระบบประปาหมู่บ้าน  ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่พัฒนาขึ้น   สำหรับน้ำใต้ดินส่วนมาก มีคุณภาพเป็นน้ำเค็ม  น้ำกร่อย   ไม่สามารถเหมาะสำหรับการเกษตร  และไม่สามารถใช้ดื่มได้

8.๒ ป่าไม้  ในเขตตำบลเสมาใหญ่ไม่มีป่าไม้

8. ภูเขา  ในเขตตำบลเสมาใหญ่ไม่มีภูเขา

8. ทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ในพื้นที่ของตำบลเสมาใหญ่ส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย  ร้านค้า  สถานประกอบการ  ตามลำดับ  และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ก็ได้แก่  ดิน  น้ำ  ต้นไม้  อากาศที่ไม่มีมลพิษ  ปัญหาคือ เนื่องจากว่าพื้นที่บางส่วนเป็นดินเค็ม  น้ำใต้ดินก็เค็ม  หรือไม่ก็เป็นน้ำกร่อย      ไม่สามารถที่จะนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ในการอุปโภค-บริโภคได้ ต้องอาศัยน้ำดิบจากแหล่งอื่น  และน้ำฝนน้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ  ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น 



เข้าชม : 16410